TOP 5 วัดแนะนำในอำเภอปัว จังหวัดน่าน

(สามารถไปทำบุญ ไปเที่ยว ไปถ่ายรูปที่วัดกันได้สวยงามมาก)

1.วัดภูเก็ต ตำบลวรนคร

(มุมถ่ายรูปเยอะ,สิ่งอำนวยความสดวกดีเยี่ยม)

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดภูเก็ต


2.วัดปรางค์ ตำบลปัว

(ต้นดิกเดียม,มุมถ่ายรูปเยอะ,สิ่งอำนวยความสดวกดีเยี่ยม)

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดปรางค์


3.วัดร้องแง ตำบลวรนคร

(มุมถ่ายรูปเยอะมาก,สิ่งอำนวยความสดวกดดี)

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดร้องแง


4.วัดต้นแหลง ตำบลไชยวัฒนา

(มุมถ่ายรูปเยอะ,สิ่งอำนวยความสดวกดีเยี่ยม)

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดต้นแหลง


5.วัดพระธาตุเบ็งสกัด ตำบลปัว

(มุมถ่ายรูป,เหมาะแก่การทำบุญ)

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดพระธาตุเบ็งสกัด



วัดอื่นๆวัดในอำเภอปัวมีทั้งหมด59วัด

1.วัดดอนมูล 2.วัดท่าล้อ 3.วัดทุ่งกวาง 4.วัดพาน 5.วัดหนองเงือก 6.วัดหัวเมือง 7.วัดสบปัว 8.วัดดอนแก้ว 9.วัดทุ่งชัย 10.วัดนาก้อ 11.วัดนาวงค์ 12.วัดปง 13.วัดวังม่วง 14.วัดศาลา 15.วัดนางิ้ว 16.วัดเสี้ยว 17.วัดหนาด 18.วัดป่าลาน 19.วัดศรีสระวงค์ 20.วัดต้นแหลง 21.วัดพระธาตุเบ็งสกัด 22.วัดป่าหัด 23.วัดปรางค์ 24.วัดราชสีมา 25.วัดร้อง 26.วัดนิมิตรมงคล 27.วัดดอนแก้ว 28.วัดภูเก็ต 29.วัดร้องแง 30.วัดรังษี 31.วัดสวนดอก 32.วัดเฮี้ย 33.วัดดอนแก้ว 34.วัดดอนมูล 35.วัดนาคำ 36.วัดบุญยืน 37.วัดป่าตอง 38.วัดดอนไชย 39.วัดป่าเหมือด 40.วัดศาลา 41.วัดดอนสถาน 42.วัดนาป่าน 43.วัดนาฝาง 44.วัดป่าเหียง 45.วัดส้าน 46.วัดห้วยล้า 47.วัดทุ่งกลาง 48.วัดน้ำยาว 49.วัดไร่ 50.วัดศรีรัตนาราม 51.วัดพระธาตุศรีคีรีชัย 52.วัดบ้านใหม่ชัยเจริญ 53.วัดทุ่งรัตนาราม 54.วัดป่าดอยภูคา 55.วัดดอนน้ำยาว 56.วัดทุ่งฆ้อน 57.วัดบ้านกอก 58.วัดกอกร้องเย็น 59.วัดกอกล่องน้ำเย็น

0.พระธาตุจอมแจ้ง

พระธาตุจอมแจ้ง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

พระธาตุจอมแจ้ง

ประวัติพระธาตุจอมแจ้ง

      วัดพระธาตุจอมแจ้ง มีชื่อเต็มตามแผ่นศิลาจารึกว่า “พระมหาชินธาตุเจ้าจอมแจ้ง สระหนองปลิง” ภายในองค์พระธาตุ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าภายหลังชาวบ้านจึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า ดอยจอมแจ้ง ตามชื่อของพระธาตุ

      แต่เนื่องจากองค์พระธาตุประดิษฐานอยู่บนยอดดอยสูง และมีอายุยาวนาน จึงชำรุดทรุดโทรมเกินกว่าที่จะบูรณะได้ แผ่นศิลาจารึกได้มีบันทึกเป็นอักษรธรรม ภาษาล้านนา ไว้ แปลเป็นไทยมีใจความว่า ในวันเสาร์ ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๙๑ เวลา ๑๕ นาฬิกา ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง เมืองลี้ จังหวัดลำพูน มาเป็นประธานในบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุดวงนี้ โดยมีพระกั๋ญจะนะผาบภิกขุ เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง พร้อมกับพระภิกษุ สามเณรมากมายมาร่วมกันบูรณะ แลฝ่ายฆารวาส ยังมีหลวงพงษ์สุรสวัสดิ์ เจ้าหลวงเมืองพาน แม่เจ้าคำแปง และชายา บุตรธิดาทุกองค์ ทั้งราษฎรจากทั่วสารทิศมาร่วมกันบูรณะองค์พระธาตุ โดยการช่วยกันหาบก้อนอิฐ หิน ทราย วัสดุในการก่อสร้างขึ้นไปยังยอดดอย เพื่อ ก่อเจดีย์ครอบองค์เก่าซึ่งเหลือเพียงซากปรักหักพังเท่านั้น การก่อสร้างในสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ด้วยแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จในเวลาต่อมา ซึ่งในขณะนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัย อายุได้ ๕๑ ปี

อ้างอิง wikipedia



1.วัดดอนมูล

วัดดอนมูล ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดดอนมูล

ประวัติวัดดอนมูล

      สร้างถวายองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ในบวรพุทธศาสนา พระวินัยธรโสภณ โสภโณ (ภิรัญคำ) เจ้าอาวาส วัดดอนมูล ต.แงง อ.ปัว จ. น่าน พร้อมด้วยสมณะ พระภิกษุสามเณร คณะศรัทธาชาวบ้านดอนมูลทุกหลังคาเรือน

ชาย หญิง นายบุญยัง ละขะไพ (ผู้ใหญ่บ้าน) และอุบาสก อุบาสิกา ประชากร พุทธมามะกะ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ครู พ่อค้า ประชาชน มวลชนทุกหมู่เหล่า และคณะศรัทธาต่างหมู่บ้าน ต่างตำบล ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ต่างประเทศ และคณะผ้าป่า คณะกฐิน ผู้ร่วมทำบุญบริจาค สร้างซุ้มประตูช่วงวัด และกำแพงวัดดอนมูล สร้างเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันเสาร์ ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อ้างอิง ป้ายติดข้างประตูวัด



2.วัดท่าล้อ

วัดท่าล้อ ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดท่าล้อ

ประวัติวัดท่าล้อ

      วัดท่าล้อ (แงง) เลขที่ 5 ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2364 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2497
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



3.วัดทุ่งกวาง

วัดทุ่งกวาง ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดทุ่งกวาง

ประวัติวัดทุ่งกวาง

      วัดทุ่งกวาง เลขที่ 1 ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2497
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



4.วัดพาน

วัดพาน ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดพาน

ประวัติวัดพาน

      วัดพาน เลขที่ 3 ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2332 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2480
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand


5.วัดหนองเงือก

วัดหนองเงือก ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดหนองเงือก

ประวัติวัดหนองเงือก

      วัดหนองเงือก หมู่ 2 ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



6.วัดหัวเมือง

วัดหัวเมือง ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดหัวเมือง

ประวัติวัดหัวเมือง

      วัดหัวเมือง (แงง) เลขที่ 5 ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2418 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2527
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



7.วัดสบปัว

วัดสบปัว ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดสบปัว

ประวัติวัดสบปัว

      ประวัติของวัดบ้านสบปัว วัดสบปัวเดิมได้แยกจากวัดศาลาได้มาสร้างขึ้นมาสมัยนั้นเป็น อารามสบปัวขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2505 นั้น

โดย มีพระวิเชียงคุตุตธมุโน เป็นเจ้าอาวาสและมีนายแก้วปามะเป็นผู้ใหญ่บ้าน ที่เดิมนั้นเป็นตำบลแงง ได้แยกมาเป็นตำบลเจดีย์ชัย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2522 เป็นต้นมา ทางกระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศตั้งเป็นวัดขึ้น ในพระพุทธศาสนามีนามว่าวัดสบปัว ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2542 และประกาศ ณ วันที่ 10 พ.ย. 2542 วัดสบปัว ได้ผูกพันธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 ก.พ. 2552 ตรงกับเดือน 4 เหนือ แรม 13 ค่ำ

อ้างอิง กระดานภายในวัด



8.วัดดอนแก้ว

วัดดอนแก้ว ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดดอนแก้ว

ประวัติวัดดอนแก้ว

      จากโพสของวัด ประวัติวัดดอนแก้ว ต.เจดีย์ชัย อ.ปัว จ.น่าน วัดดอนแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ บ้านดอนแก้ว หมู่ ๖ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

      ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๒๔ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๔๐ วา ทิศใต้ประมาณ ๔๐ วา จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ ๓๐ วา ที่ตะวันตกประมาณ ๓๐ วา ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๐๔ ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ(กำลังสร้าง) ศาลาการเปรียญ(ปัจจุบันชำรุดเสียหายใช้การไม่ได้) กุฎิสงฆ์ หอระฆัง พระเจดีย์แก้ว ๓ ดวง ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปปูนปั้น(พระประธานในอุโบสถ) พระพุทธรูปทองทิพย์(พระพุทธรูปเก่าแก่ที่ได้นำมาจากวัดเก่า) พระเจ้าทันใจ และพระพุทธรูปอื่นๆ
      วัดดอนแก้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ เขตวิสุงสีคาม กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร
      จากบันทึกของวัด ประวัติของวัดดอนแก้ว เลขที่ 38 โดยย่อ โฉนดเลขที่ 35374 ตั้งอยู่หมู่ ที่ 6 ต.เจดีย์ชัย อ.ปัว จ.น่าน มีเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 44 ตรว. วัดดอนแก้วเดิมชื่อวัดกอกหรือวัดกอกแก้ว ตำบลแงงสมัยนั้นตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่าน ชั้นที่ 3 ตั้งแต่ริมน้ำน่านขึ้นมาพ้นจากการน้ำท่วม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2370 ด้วยโครงสร้างด้วยไม้ไผ่สีสุดไม้ซางไม้รวก ได้สร้างขึ้นหลายครั้ง พอมาถึงปี พ.ศ. 2490 ได้ก่อสร้างกุฏิวิหารด้วยไม้เนื้อแข็ง และได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาตลอดจนถึงปี พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในวัดมีปูชนีย์วัตถุหรือ ทรัพย์สินคือพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ใหม่ 3 องค์ และพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์เล็กอีกหลายองค์และพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ใหญ่ 3 องค์ และพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์เล็กอีกหลายองค์และพุทธรูปไม้หลายองค์และพระประธานปูนปั้นประจำในวิหาร 1 องใหญ่ และมีแก้ววิเศษ 3 ลูก(ปัจจุบันบรรจุไว้ในพระธาตุ) ประวัติพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์นี้อายุประมาณ 700 ปี(ไม่แน่ชัด) เมื่อปี พ.ศ. 2553 ได้มีฝ่ายสงฆ์กับฝ่ายศรัทธาหมู่บ้านได้นำไปจำลองหล่อเหรียญให้บูชา ช่างดำเนินการจึงมาถ่ายรูปเอาไปออกแบบโดยไม่ได้ขออนุญาต เมื่อนำไปล้างปรากฎว่าฟิล์มดำไปหมดจึงกลับมาถ่าย รอบ 2 ได้นำดอกไม้ธูปเทียนมาขออนุญาต รูปภาพจึงชัดเจนดีขึ้นคนทั่วไปจึงได้รู้ว่าพุทธรูปองค์นี้วิเศษจริงๆปัจจุบันนี้ได้หล่อเหรียญไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับลูกแก้ววิเศษ ดังกล่าว ก็แสดงความเชื่อถือให้กับคนทั่วไปคือเมื่อสมัยท่านเจ้ากันทะกนุทโก เป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ. 2372-2390 ท่านเจ้ากันทะกันสามเณรที่เคยหลับดึกได้เห็นแสงแก้ว ดังกล่าวในวันขึ้น 15 ค่ำแรม 15 ค่ำ กลิ้งหรือวิ่งไปตามขื่อและแปรไปๆมามีสีเขียว เร็วและได้หายไป สร้างความมึนงงให้กับภิกษุสามเณรเป็นอย่างมากพากันเทใจว่ามีคนทำไสยาศาสตร ตู้รองของร้าย พอมารู้ทีหลังเป็นแก้ววิเศษนั้นเอง พอคนทั่วไปรู้ข่าวจึงมีพ่อค้ามาขอ ซื้อของบูชา ท่านเจ้ากันทะจึงปรึกษากับศรัทธาว่าเห็นสมควร ขายหรือไม่ฝ่ายชาวบ้านบอกว่า ถ้าไม่ขายเมื่อเวลาแก้วออกมาเหมือนเดิมอาจมีคนเอายูไม้กวาด มาปัดลงเขาเอาไปฟรีๆ ดังนั้นตกลงขายให้คนต่างจังหวัดไม่ระบุชื่อและที่อยู่เป็นเงิน 1000 บาท คนที่ซื้อไม่ได้เก็บไว้อย่างดีใส่ในหีบไม้มืดกุญแจนานประมาณ 3 วันเจ้าของจะเอาติดตัวไปค้าขายพอเปิดดูไม่มีแก้วดังกล่าวในหีบแต่อย่างใด ผู้ซื้อจึงไป ถามท่านเจ้ากันทะวัดกอกว่าแก้วที่ซื้อไปไปได้หายไปจึงขอให้ท่านเจ้าไปดูสถานที่เดิมว่าแก้ววิเศษกลับมาอยู่ที่เดิมหรือไม่ พอไปดูมีอยู่ที่เดิมตามที่คิดพ่อค้าคนนั้นจึงขออธิฐานอีกครั้งนำกลับไปเก็บไว้อย่างดี เป็นครั้งที่ 2 นาน 2 วันได้ทดลองเปิดดู ก็ไม่มีแก้วอยู่ที่เก็บจึงตัดสินใจไปขอคืนเงินพอไปถึงวัดกอกแก้ว จึงถามท่านเจ้ากันทะว่าลูกแก้วหนีอีกแล้วท่านเจ้ากันทะจึงไปเปิดดูที่เก่าปรากฎว่ามีแก้วดังกล่าวกลับมาอยู่เหมือนเดิม การแสดงความเชื่อถือของแก้วคือเจ้าของผู้ซื้อได้ยันว่าลูกแก้วดังกล่าว อยู่บ้านไม่ได้เพระาไม่มีที่เหล้นจึงจะอยู่ในวัดเท่านั้นผู้ซื้อจึงนำไปคืนและขอเงินคืนตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านไม่ยอมขายจึงเก็บรักษามาตลอดพอถึงวันศีลขึ้นแรม 15 ค่ำ หรือวันเข้า-ออกพรรษาและวันปีใหม่ได้นำเอาแก้วใส่ลงน้ำส้มป่อย แล้วให้ชาวบ้านเอาล้างหน้าดำหัวทุกครั้งต่อมาท่านเจ้ากันทะได้มรณะภาพไปเมื่อ พ.ศ.2460 ได้มีพระอานนท์อนานุโท เป็นเจ้าอาวาส เป็นท่านเจ้าเก่งมากสอบชั้นตรีได้เป็นคนแรกของอำเภอปัวได้อธิฐานว่าจะทำอย่างใดให้แก้ววิเศษอยู่ที่เดิมไม่ให้ออกไปที่อื่น ท่านเจ้าอานนท์ได้ฝันว่ามีคนเฒ้ามาบอกว่าให้ไปเอาไม้เฮี้ยตายพายตัดเอาใส่ข้อตังปี้นเก็บไว้ออกไปไม่ได้จึงทำตามคำฝันก็ได้ผลมาตลอดนานหลายปี ศรัทธาในหมู่บ้าน เกรงว่าต่อไปจะมีคนพยายามเอาไปหรือแลกเปลี่ยนจึงไม่มีความปลอดภัย พอถึงปี พ.ศ. 2535 วัดดอนแก้วไม่มีเจ้าอาวาสจึงไปนิมนต์ หลวงพ่อคำหวันวัดคั๊วะ ท่าวังผามาอยู่ สมัยนั้นนายกำจัดภัย คำเขื่อนเป็นกำนันปรึกษา พระคำหวันว่าอยากสร้างพระธาตุเจ้าคำหวันบอกว่าเห็นดีด้วย หลานบ่าวชื่อนายถนอม เคยสร้างธาตุมาหลายแห่งจึง ตกลงสร้างพระธาตุขึ้นมาและได้นำเอาพุทธรูปของสัมฤทธิ์หลายองค์ได้มาจากวัดม่านและลูกแก้ววิเศษเข้าบรรจุไว้ในพระธาตุเพื่อป้องกันสูญหาย ตั้งแต่นั้นถึงปัจจุบัน

อ้างอิง โพสของวัด บันทึกของทางวัด 1 บันทึกของทางวัด 2 บันทึกของทางวัด 3



9.วัดทุ่งชัย

วัดทุ่งชัย ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดทุ่งชัย

ประวัติวัดทุ่งชัย

      ประวัติวัดทุ่งชัยและพระธาตุหิรัญชัย วัดทุ่งชัยก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2486 เมื่อก่อนเป็นอารามสงฆ์ ต่อมาได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ตั้งชื่อว่า วัดทุ่งชัย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 23 กันยายน พ.ศ. 2529

และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2543 ต่อมาพระครูขันติธีรวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งชัย ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จสังฆราชฯ โดยผ่านมาทางเจ้าคณะอำเภอปัว เพื่อที่จะได้นำมาสร้างพระเจดีย์ แต่เนื่องจากขณะนั้นทางวัดยังไม่มีปัจจัยในการสร้าง จึงได้ เก็บไว้จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2553 พระครูขันติธีรวัฒน์ ได้นิมิตเห็นลูกแก้ววิเศษลอยมาตกบริเวณที่จะสร้างพระเจดีย์ และมีเทวดา บอกให้สร้างพระเจดีย์เพื่อที่จะได้นำลูกแก้วมาบรรจุไว้ ดังนั้นจึงได้ปรึกษากับ ร.ท.สิงห์สอน มีชัย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน และคณะ กรรมการในขณะนั้นได้นำเข้าที่ประชุมหมู่บ้าน และในที่ประชุมได้มีมติให้สร้างองค์พระเจดีย์และได้รับการติดต่อจาก คุณสมาน แก้วโก ชาวบ้านทุ่งชัย ซึ่งไปทำงานที่ จ.ลำพูน ว่าได้มีพระรูปหนึ่ง คือ ท่านพระครูจันทประชามานิต เจ้าอาวาสวัดสะแล่ง จ.ลำพูน จะมาช่วยสร้าง โดยหาผู้มีจิตศรัทธามาร่วมบริจาค โดยได้จำลองแบบมาจาก องค์พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน ฐานขององค์พระ เจดีย์ กว้าง 9 เมตร ยาว 9 เมตร สูง 29 เมตร และได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 ทำพิธีบรรจุพระบรมสารี ริกธาตุวัตถุมงคลพร้อมยกฉัตร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยมี คุณวิภาวรรณ ไชยวงศ์ ตัวแทนคุณหญิงแสงเดือน ณ นคร เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ และได้ดำเนินการสร้างโดยมี พระครูขันติธีรวัฒน์เจ้าอาวาส วัดทุ่งชัยเป็นประธานในการก่อสร้าง ภายใต้การดำเนินการประสานงานโดย ร.ท. สิงห์สอน มีชัย ผู้ใหญ่บ้านทุ่งชัย พร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านทุ่งชัย ได้รับการบริจาคงบประมาณในการก่อสร้างจากองค์กรต่างๆ บุคคลทั่วไปและได้ตั้งชื่อ องค์พระธาตุว่า พระธาตุหิรัญชัย ซึ่ง แปลว่า เงิน ทอง ใครได้มาสักการะแล้วจะร่ำรวย และสมความปรารถนา ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาท) กำหนดให้มีประเพณีการนมัสการและสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เหนือของทุกปี

อ้างอิง จากป้ายของวัด



10.วัดนาก้อ

วัดนาก้อ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดนาก้อ

ประวัติวัดนาก้อ

      วัดนาก้อ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง sangkhatikan



11.วัดนาวงศ์

วัดนาวงศ์ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดนาวงศ์

ประวัติวัดนาวงศ์

      วัดนาวงศ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลเจดีย์ อำเภอปัว จังหวัดน่าน เดิมชื่อของวัดนาวงศ์ ชื่อว่า วัดปางเคาะ เป็นวิหารไม้สักทองทรงล้านนา สร้างด้วยไม้สักทอง ตกแต่งสีทองสวยงามอร่าม หลังคา 3 ชั้น ยกช่อฟ้า เบื้องหน้าของวิหารมีพญานาค พร้อมทั้งสิงห์องค์ใหญ่อยู่ด้านหน้า

      ภายในวิจิตรและประดิษบานพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชการที่ 9 ครองราชครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ.2549 ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็น 1 ใน 9 วัดในพระพุทธศาสนาที่ได้รับพระราชทาน
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง thailandtourismdirectory



12.วัดปง

วัดปง ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดปง

ประวัติวัดปง

      วัดปง เลขที่ 2 ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2370 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2480
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



13.วัดวังม่วง

วัดวังม่วง ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดวังม่วง

ประวัติวัดวังม่วง

      ประวัติวัดวังม่วง ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดวังม่วง ตำบลเจดีย์ชัย ดั้งเดิมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านได้ประมาณ 19 ปีเมื่อถึงฤดู ฝนน้ำน่านจะขึ้นท่วมทุกปีจึงไม่สะดวกในการประกอบพิธีจึงได้มีการย้ายขึ้นมาตั้งอยู่ บนหนองนาฬา

ประมาณ 7 ปีต่อมาจึงได้ย้ายวัดลงไปตั้งอยู่ที่เดิมอีกเพราะวัดอยู่ไกล จากหมู่บ้านมาก ประมาณ 60 ปีและต่อมาได้ย้ายวัดลงไปที่เดิมอีกครั้งและต่อมาน้ำน่านก็ได้เออนองขึ้นท่วมทั้งหมู่บ้านและวัดอยู่ตลอดทุกๆ ปี ทางคณะศรัทธาบ้านวังม่วงจึง ได้พร้อมใจกันหาที่ตั้งวัดใหม่อีกครั้งและได้รื้อถอนย้ายวัดและมาตั้งใหม่ที่ปัจจุบัน โดย การนำของผู้ใหญ่ของแสงเป็นผู้ใหญ่บ้านวังม่วงเมื่อพ.ศ. 2507 เป็นต้นมาประมาณ 48 ปี โดยพ่ออิ่นคำ-แม่คำเลี่ยน ปามะ ได้อุทิศที่ดินจำนวน 7 ไร่มอบให้หมู่บ้านวังม่วงเพื่อ เป็นที่ตั้งวัดขึ้นใหม่เพื่อเป็นจุดรวมใจของคณะศรัทธาบ้านวังม่วง สืบต่อไป

อ้างอิง ข้อมูลจากทางวัด



14.วัดศาลา

วัดศาลา ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดศาลา

ประวัติวัดศาลา

      วัดศาลา (เจดีย์ชัย) เลขที่ 4 ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2521

      กำลังสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



15.วัดนางิ้ว

วัดนางิ้ว ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดนางิ้ว

ประวัติวัดนางิ้ว

      วัดนางิ้ว ตั้งอยู่บ้านนางิ้ว หมู่ที่ 1 ต.ไชยวัฒนา อ.ปัว จ.น่าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2480ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 18 มีนาคมพ.ศ.2530 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20เมตร ยาว 40เมตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ 4ไร่

อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 40 วา จดที่ดินเอกชน ทิศใต้ประมาณ 35 วา จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกประมาณ 42 วา จดร่องน้ำ ทิศตะวันตกประมาณ 30วา จดที่ดินเอกชน โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญภายในวัด อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร กุฎิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูป

อ้างอิง m-culture



16.วัดเสี้ยว

วัดเสี้ยว ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดเสี้ยว

ประวัติวัดเสี้ยว

      จากlovethailand วัดเสี้ยว ตั้งอยู่เลขที่ 32 บ้านเสี้ยว หมู่ที่ 6 ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ.2480 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 6 ตารางวาวัดเสี้ยว

      เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านเสี้ยว ส่งเสริมให้ชาวบ้านได้มีการเข้าวัดทำบุญ ทั้งในวันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา งานประเพณีต่าง ๆ ซึ่งวัดนี้มีโบราณวัตถุที่สำคัญภายในวัด ประกอบด้วย อาคารเสนาสนะ (กุฏิสงฆ์ วิหาร ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูป) อาณาเขต ทิศเหนือ จดถนน ร.พ.ช. ทิศใต้ จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันตก ที่ดินเอกชน
      จากทางวัด วัดเสี้ยว ตั้งอยู่บ้านเสี้ยว เลขที่ ๓๒ หมู่ที่ ๖ ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๐๖ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ จดถนนสายบ้านเสี้ยว-ศาลา ทิศใต้ จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันตก จดที่ดินเอกชน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปียญ เป้นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑ หลังเป็นอาคารหรึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาอเนกประสงค์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มี หอระฆัง ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง เรือนเก็บพัสดุ ๑ หลัง ปูชนียวัตถุมี พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง ๓๖ นิ้ว สูง ๕๕ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ วัดเสี้ยว ตั้งวัด พ.ศ. ๒๔๘๐ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตรยาว ๔๐ เมตร

อ้างอิง lovethailand ข้อมูลจากทางวัด



17.วัดหนาด

วัดหนาด ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดหนาด

ประวัติวัดหนาด

      วัดหนาด ตั้งอยู่ที่ บ้านหนาด หมู่ 4 ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



18.วัดป่าลาน

วัดป่าลาน ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดป่าลาน

ประวัติวัดป่าลาน

      วัดป่าลาน เลขที่ 12 ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อ พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2533

อ้างอิง lovethailand


19.วัดศรีสระวงค์

วัดศรีสระวงค์ ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดศรีสระวงค์

ประวัติวัดศรีสระวงค์

      ผู้สร้างวัดวัดศรีสระวงค์ คือ พ่อเลี้ยงเทพวงค์ เขื่อนธนะ เป็นหัวหน้า นางเกี๋ยง สุทำแปงเป็นผู้อุทิศที่ดิน นายฝั้น สุทำปงเป้นผู้บริจาคไม้ พระปลัด ยส วัดปรางค์เป็นองค์เผยแผ่ นาย แสง สารเทพ ผู้ใหญ่บ้านพร้อมราษฎรทุกๆคนในหมู่บ้านท่าควาย หมู่ 3 ช้วยกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2490       ประกอบด้วยที่ตั้งวัดอยู่ติดใกล้กับหนองน้ำธรรมชาติจึงให้ชื่อ วัดขึ้นใหม่ว่า วัดศรีสระวงค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ทำการฉลองถวายทานเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2491 และทางผู้นำของหมู่บ้านและศรัทธาได้ช้วยกันปฏิสังขรณ์สืบต่อมา จนกระทั้งมาถึงปี พ.ศ.2522 ทางราชการได้แบ่งตำบล สถานเป็นสองตำบล คื่อ ตำบล สถานเดิม และ ตำบล ไชยวัฒนา วัดศรีสระวงค์จึงปรากฎหลักฐานอยู่ใน บ้านท่าควาย ตำบล ไชยวัฒนา อำเภอ ปัว จังหวัด น่าน และได้รับวิสุงคามสีมาแล้ว เมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532

อ้างอิง wutsrisrawong


20.วัดต้นแหลง

วัดต้นแหลง ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดต้นแหลง

ประวัติวัดต้นแหลง

      วัดต้นแหลง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่านวัดต้นแหลงสันนิษฐานว่าสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 2127 โดยช่างชาวไทลื้อ กรมการศาสนาระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2390 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2470 มีข้อสันนิษฐานว่าวัดต้นแหล๋งน่าจะสร้างขึ้นสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย เพราะลักษณะของหลังคาเป็นทรงสามชั้นมุงด้วยไม้ทั้งหมด นาคบนหลังคาเป็นนาคสามเศียรคล้าย ๆ กับนาคของประเทศลาว

      สถาปัตยกรรมไทลื้อของวัดที่โดดเด่น คือ วิหารหรืออุโบสถ ตัววิหารเดิมถูกรื้อแล้วสร้างใหม่ เนื่องจากสร้างอยู่ริมตลิ่งทำให้ในฤดูน้ำหลาก หลังคาวิหารเป็นทรงคุ่มลาดเอียง ซ้อนกัน 3 ชั้น ต่อมาได้เกิดการชำรุดเนื่องจากปลวกแมลงและความชื้นจากดิน จึงต้องเปลี่ยนผนังใหม่เป็นผนังก่ออิฐ และเพิ่มช่องหน้าต่างขนาดเล็กขึ้น เพื่อให้แสงสว่างตัววิหาร บริเวณฐานชุกชีค่อนไปทางหลังวิหารสามารถเดินได้รอบ ฐานวิหารยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร ประตูอยู่กึ่งกลางเป็นประตูไม้เปิดปิดได้โดยเจาะรูผนังแกนหมุนเพื่อรับบานประตูขนาดใหญ่

อ้างอิง wikipedia tourismthailand m-culture.in.th chiangmainews



21.วัดพระธาตุเบ็งสกัด

วัดพระธาตุเบ็งสกัด ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดพระธาตุเบ็งสกัด

ประวัติวัดพระธาตุเบ็งสกัด

      วัดพระธาตุเบ็งสกัดเป็นวัดที่เก่าแก่มาก สร้างขึ้นในสมัยพญาภูคา ราวปีพุทธศตวรรษที่ 18 เคยเป็นศูนย์กลางของชุมชน ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ องค์พระธาตุเบ็งสกัด ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่มีอายุกว่า 700 ปี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอำเภอปัวมาช้านาน      คำว่า “เบ็งสกัด” นั้น หมายถึง สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดจากบ่อดินที่ใช้ไม้แหย่ลงไปแล้วขาดเป็นท่อน ๆ เหมือนมีอะไรมากัดให้ขาด และมีแสงเกิดขึ้นในคราวเฉลิมฉลอง จึงเป็นที่มาของชื่อพระธาตุแห่งนี้ ทั้งนี้ องค์พระธาตุและพระวิหารสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1826 วิหารทรงตะคุ่มแบบศิลปะพื้นบ้านไทลื้อ หรือที่เรียกว่า “ทรงเตี้ยแจ้” มีหลังคา 2 ชั้น 2 ตับ มุงด้วยแป้นเกล็ด (ทำจากไม้สักทอง) มีซุ้มประตูเป็นศิลปะล้านช้าง ได้รับการบูรณะในสมัยพระยาอนันตยศ และโปรดให้นำพระแก้วซึ่งมีเกศาเป็นทองคำบรรจุในองค์พระธาตุ องค์พระประธานอันเป็นศิลปะแบบพื้นบ้าน ประดิษฐานบนฐานชุกชี ด้านหลังองค์พระ ติดกระจกเงาตามความเชื่อของชาวไทลื้อ ส่วนบานประตูไม้จำหลักเป็นศิลปะพื้นเมืองน่าน โดยวัดแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487

อ้างอิง tessabanpua


22.วัดป่าหัด

วัดป่าหัด ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดป่าลาน

ประวัติวัดป่าหัด

      วัดป่าหัด สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2406 เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านป่าหัดปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 เกิดอุทกภัย กระแสน้ำพัดตลิ่งพัง โดยขณะนั้นมีนายดวงคำ สุธรรมแปง เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้อพยพประชาชนมาตั้งรกรากอยู่ ณ บ้านป่าหัดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และได้รวบรวมเงินกันก่อตั้งวัดป่าหัดใหม่อีกครั้ง      ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยวัดป่าหัดอยู่ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ , กุฏิสงฆ์ , ปูชนียวัตถุ , พระพุทธรูป และพระธาตุรัตนมงคลแก้วดวงดี สรีป่าหัดแก้วกว้าง ท่าท้างพลัวไชย นอกจากนั้นแล้ววัดป่าหัดยังมีพิพิธภัณฑ์ชุมชน และบ้านโบราณพื้นเมือง

อ้างอิง tessabanpua



23.วัดปรางค์

วัดปรางค์ ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดปรางค์

ประวัติวัดปรางค์

      วัดปรางค์ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านปรางค์ ตำบลปัว โดยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2230 ที่วัดแห่งนี้มีพระธาตุบุญนาคทรงลังการะฆังคว่ำ ซึ่งเชื่อกันว่ามีพระธาตุบรรจุอยู่ในเจดีย์ เป็นที่เคารพบูชาของคนในตำบลปัว นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ที่ทำให้ผู้คนหลั่งไหลมาชมคือ “ต้นดิกเดียม” เป็นไม้ยืนต้นหายาก มีอายุมากกว่า 100 ปี ลำต้นยืนต้นหันหลังให้แดดหันหน้าเข้าวัด หากเมื่อเราสัมผัสบริเวณลำต้นเบา ๆ ก็จะพบว่าใบของต้นดิกเดียมจะสั่นไหวทุกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกจนได้รับแต่งตั้งให้เป็น 1 ใน UNSEEN THAILAND และที่สำคัญต้นไม้ชนิดนี้มีต้นเดียวในประเทศไทย

อ้างอิง tessabanpua


24.วัดราชสีมา

วัดราชสีมา ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดราชสีมา

ประวัติวัดราชสีมา

      วัดราชสีมาหรือวัดบ้านขอน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลปัว โดยหลักฐานการสร้างวัดไม่ปรากฎแน่ชัดว่า ได้เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด แต่ทั้งนี้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2361 นายแสนชัย วุฒิธิ ซึ่งเป็นกำนันแขวงเมืองปัว พร้อมทั้งชาวบ้านบ้านขอน ได้ร่วมมือกันก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ และถัดมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามยุคสมัยในหลายครั้งจนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นวัด เมื่อปี พ.ศ. 2405       จากนั้นในปี พ.ศ. 2449 วัดบ้านขอนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งมีอายุได้ 125 ปี ดังนั้น พุทธศาสนิกชนและผู้มีจิตศรัทธาบ้านขอน จึงได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่ง ซึ่งเสาก่อด้วยอิฐปูน ผนังกำแพงก่อด้วยอิฐปูนขาว มุงหลังคาด้วยดินขอ พร้อมทั้งปลูกฝังลูกนิมิตพัทธสีมาไว้ในอุโบสถหลังนี้ และได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นประทับไว้หนึ่งองค์ นับตั้งแต่นั้นมากรมการศาสนา จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจากเดิม “วัดขอน” เป็น “วัดราชสีมา” และเรียกขานมาจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง tessabanpua


25.วัดร้อง

วัดร้อง ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดร้อง

ประวัติวัดร้อง

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .


26.วัดนิมิตรมงคล

วัดนิมิตรมงคล ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดนิมิตรมงคล

ประวัติวัดนิมิตรมงคล

      วัดนิมิตรมงคล เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๙ ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง sangkhatikan



27.วัดดอนแก้ว

วัดดอนแก้ว ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดดอนแก้ว

ประวัติวัดดอนแก้ว

      ประวัติวัดดอนแก้ว วัดดอนแก้ว วัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพระพุทธรูปพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นเนื้อสัมฤทธิ์ หน้าตัก 6 นิ้ว ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2458 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2497
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง tourwatthai



28.วัดภูเก็ต

วัดภูเก็ต ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดภูเก็ต

ประวัติวัดภูเก็ต

      วัดภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บ้านเก็ต หมู่ 2 ต.วรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เริ่มที่ชุมชนบ้านเก็ตได้ย้ายถิ่นฐานมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว โดยการนำของหลวงแสนหาญยุทธ และหลวงแสนคำมูล สองผู้นำชุมชนซึ่งเป็นต้นตระกูล "หาญยุทธ และมูลคำ" ของชาวบ้านเก็ตในปัจจุบัน ท่านได้พาลูกบ้านอพยพผ่านแม่น้ำคง, แม่น้ำหลวย ผ่านเข้าประเทศลาวเข้าสู่เมืองปัว จังหวัดน่าน มาตั้งชุมชนลงหลักปักฐานอยู่แถบริมฝั่งแม่น้ำขว้าง       ซึ่งเป็นปฏิรูปเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์จวบจนถึงปัจจุบันบ้านเก็ด ตั้งอยู่เยื้องโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดน่าน 63 กิโลเมตร เดินทางจากถนนสายกรุงเทพฯ-น่าน-ทุ่งช้าง ถึงอำเภอปัว แล้วกลับรถหน้าโลตัสเลี้ยวซ้ายไปตามถนนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัววัดภูเก็ต ตั้งชื่อตามหมู่บ้านเก็ต แต่เนื่องด้วยเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินสูงซึ่งทางเหนือเรียกว่า "ดอย" หรือ "ภู" จึงตั้งชื่อว่าวัดภูเก็ต หมายถึง วัดที่ตั้งอยู่บนภูบ้านเก็ต วัดภูเก็ตแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูมหัศจรรย์ มีฮวงจุ้ยถูกหลักทักษาพยากรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน มีอุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ จิตรกรรมฝาผนังสามมิติ เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อแสนปัว หรือหลวงพ่อพุทธเมตตา" องค์ศักดิ์สิทธิ์ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เพ่งตรงไปยังอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใต้เชิงดอย เป็นพื้นที่ทำนาของชาวบ้าน เมื่อถึงฤดูหนาวจะเกิดทะเลหมอกสุดแสนประทับใจ ข้างล่างเชิงเขามีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นน้ำซับ ซึมมาจากใต้ดินไหลรินรวมกัน เป็นลำธารให้ฝูงปลาและสัตว์น้ำอยู่อาศัย เป็นเขตอภัยทานวัดภูเก็ตเป็นวัดที่มีอาคารปฏิบัติธรรมและที่พักที่สมบูรณ์แบบทันสมัยที่สุด เป็นที่รองรับผู้มาปฏิบัติธรรมและมาพักท้ศนศึกษา โดยได้รับการอุปถัมภ์การสร้างจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์วัดปากน้ำภาษีเจริญ และ ดร.สนธยา กล่อมเปลี่ยน ได้รับประทานนามว่า อาคารกัมมัฏฐานลอยฟ้า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙)พร้อมกันนี้ ยังมีอาคารที่พักชื่อว่า "ภูเก็ตสนธยา เทมเปิลสเตย์ (Phuket Sonthaya Templestay)" ที่มีความสะดวกสบายทุกอย่าง ห้องน้ำในตัว TV , Wi-Fi , แอร์ ครบทุกห้อง มีวิวที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาและท้องทุ่งนาเขียวขจีที่อุดมสมบูรณ์ของชาวบ้านวัดภูเก็ตมีการส่งเสริมการทอผ้าไทลื้อของชุมชนซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมืองที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ธรรมชาติ มีร้านจำหน่ายภายในวัดชื่อ "ภูเก็ตผ้าทอ" หมู่บ้านทอผ้าไทลื้อได้รับการคัดเลือกจากกรมศิลปากรให้เป็น 1 ใน 3 หมู่บ้านจัดทอทำตุงตามคติพื้นเมืองของคนไทลื้อ เพื่อตกแต่งอุทิศเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา นับเป็นเกียรติประวัติและพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

อ้างอิง touronthai


29.วัดร้องแง

วัดร้องแง ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดดอนแก้ว

ประวัติวัดร้องแง

      วัดร้องแง เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2310 โดยการนำของเจ้าหลวงเทพพญาเลนเจ้าช้างเผือกงาเขียว เดิมปกครองอยู่ที่เมืองลิน เป็นคนไทยกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาลื้อ เมืองลินอยู่ในเขตปกครองของแคว้นสิบสองปันนา มีพญาแสนเมืองแก้วเป็นผู้ปกครอง ต่อมาได้เกิดศึกสงคราม ศัตรูเข้ารุกรานเมืองจนกระทั่งพญาแสนเมืองแก้วต้านทานไม่ไหว เจ้าหลวงเทพพญารินเจ้าช้างเผือกงาเขียว       จึงได้มาช่วยต้านทานทัพศัตรูไว้พร้อมด้วยแม่ทัพนายกอง 4 นาย คือ ท้าวแก้วปันเมือง ท้าววรรณะ ท้าวเหล็กไฟ และท้าวเต๋อ แต่สู้ไม่ไหวจึงแตกทัพรวบรวมไพร่พลหนีมาพร้อมกับเสนาทั้ง 4 ถอยร่นลงมาจนถึงบริเวณใกล้กับลำน้ำล่องแง (ใกล้ลำน้ำมีต้นแงซึ่งมีลักษณะผลคล้ายกับผลส้มจึงเรียกว่าลำน้ำล่องแง) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อลำน้ำต่อมาการเรียกผิดเพี้ยนไป จึงกลายเป็นบ้านร้องแง และเมื่อสร้าง วัดจึงได้ใช้ชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อวัดไปด้วย วัดร้องแง ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองน่านแล้วเมื่อปี พ.ศ.2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2470 เมื่อปี 2550 วัดร้องแงได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เป็นรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ วิหารเก่าศิลปะไทลื้อ ยังคงรักษารูปลักษณ์เดิมไว้ ขนาดยาว 8 ห้อง กว้าง 3 ห้อง ด้านหน้ามีมุขโถง หลังคาเป็นทรงจั่ว ผืนหลังคามีสองตับ ทอดเอนลาดคลุมต่ำ มุงด้วยแป้นเก็ดหรือกระเบื้องไม้ เครื่องบนของวิหารเป็นแบบที่เรียกว่า โกม คล้ายระบบ ขื่อม้าต่างไหม หน้าบันประดับด้วยไม้ฉลุลายก้านขด แกะสลักรูปเทพพนม แผงไม้ใต้หน้าจั่ว ที่เรียกว่า โก่งคิ้ว ประดับลายก้านขดและช้าง ส่วนหน้าจั่วปีกนกตกแต่งด้วยลายก้านขดแบบเดียวกัน หางหงษ์ทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปเศียรนาค หลังคามุงกระเบื้องไม้ เรียกว่า แป้นเกล็ด คันทวย หรือ นาคทัณฑ์ เป็นไม้ฉลุ แกะสลักเป็นรูปยักษ์ ลิง ครุฑ สัตว์หิมพานต์ ระบายสี เสาหลวงมี 2 แถว จำนวน 6 คู่ เสาเป็นไม้กลม ประดับหัวเสาด้วยบัวกลีบยาว โคนเสาส่วนหน้าทาสีน้ำตาลแดง ส่วนในทาสีฟ้า ตัวเสาเขียนลายทอง ภายในวิหารมีบันไดแก้ว ธรรมมาสน์ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังฉากประธาน ด้านหน้าพระประธานมีธรรมาสน์บุษบก ด้านขวาขององค์พระมีหีบพระธรรม กับธรรมาสน์แบบกระทง ธรรมาสน์บุษบก ฐานเป็นปูนปั้น ตัวเรือนเป็นเครื่องไม้ ยอดเป็นปราสาทซ้อนชั้น

อ้างอิง m-culture wikipedia


30.วัดรังษี

วัดรังษี ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดรังษี

ประวัติวัดรังษี

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



31.วัดสวนดอก

วัดสวนดอก ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดสวนดอก

ประวัติวัดสวนดอก

      วัดสวนดอก ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖ หมู่ที่ ๖ ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน สร้างเมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๕๖ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๖๔ ตารางวา ทิศเหนือ ติดลำเหมือง ทิศใต้ติดที่นา ทิศตะวันออกติดลำเหมือง ทิศตะวันตกติดถนนเทศบาล อาคาร เสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ พระประธานในอุโบสถ วัดสวนดอก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๕ เมตร

      สิริศุภมัสดุ พระพุทธศาสนา จำเดิมแต่ปรินิพพานล่วงมาแล้วได้ ๒๕๕๑ พระวัสสา ดูถึง วันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำ (เดือน ๔ ปัว) ปีกุน จุลศักราชได้ ๑๓๗๐ ฤกษ์ใต้ ๒๗ ตัว ได้สมณฤกษ์ พุทธบริษัททั้งหลาย ประกอบด้วย พระครูบวรกิตตินันท์ เงาวาสวัดสวน เจ้าคณะ นาง พระพงศ์พันธ์ ญาณ คณะกรรมการ นำคณะศรัทธาวัดสวนดอก ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ครั้นสุภมงคลวาร ผ่านมาถึง วันศุกร์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๕๙ น. ได้มีพุทธศาสนิกชน ร่วมกัน เป็นเจ้าภาพในพิธียกร่งฟ้ามหาบารมียิ่งใหญ่ขึ้นสู่มณฑลหลังคาอุโบสถ การสร้างศาสนวัตถุ ถวายไว้ในพระพุทธศาสนาครั้งนี้ ได้สำเร็จสมบูรณ์ ดังเจตนาทุกประการ เพื่อเป็นการเพิ่มพูล กุศลบุญชาติบารมีทาน ให้ได้ถึงพระนิพพานในอนาคตกาลอันใกล้นี้ คณะศรัทธาวัดสวนดอก และสาธุชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันสมโภชฉลองอุโบสถทรงล้านนา เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อความจิรัฏฐาจีรังยั่งยืนต่อไป ในอนาคตให้ ปรากฏได้ถึง ๕,๐๐๐ พระวัสสานั้นแล

อ้างอิง ศิลาจารึก



32.วัดเฮี้ย

วัดเฮี้ย ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดเฮี้ย

ประวัติวัดเฮี้ย

      วัดเฮี้ยตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑ ต. ศิลาแลง อ.ปัว จ.น่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

      วัดเฮีย สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๒๖๕ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๒๘๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ตั้งอยู่ ทางทิศเหนือของชุมชนไทลื้อบ้านเฮี้ย คำว่า “เฮี้ย” หมายถึง ไม้ไผ่เปลือกบางชนิดหนึ่งที่ พบมากในลำห้วยแถบนี้เรียกว่า “ห้วยเฮ้ย” ซึ่งชาวบ้านมักอาศัยเป็นเส้นทางนำฝูงวัว ควาย ลัดเลาะไปเลี้ยงในป่าผ่านทุ่งนาผืนใหญ่จนได้ชื่อว่า “นาวัว” ดังปรากฏสืบมาจนทุกวันนี้

      นอกจากนี้ “ห้วยเฮ้ย” ยังพบในตำนานเมืองย่างที่ระบุว่า ราว พ.ศ. ๑๘๑๐ พญาภูคา ปฐมราชวงศ์ภูคา พร้อมด้วยชายาชื่อ นางจำปา (แก้วฟ้า) นำไพร่พลราว ๒๒๐ คนอพยพจากเมืองเงินยางเชียงแสน มาพำนักอยู่บริเวณห้วยเฮียแห่งนี้ ก่อนที่จะออกหา ชัยภูมิจนพบเมืองร้างลุ่มน้ำย่างจึงได้สถาปนาเมืองใหม่ขึ้นชื่อว่า “เมืองล่าง” (ภายหลังเรียก ว่าเมืองย่าง) อันเป็นเมืองต้นกําเนิดราชวงศ์ภูคาแห่งนครน่าน
      ในอดีตชาวไทลื้อในอำเภอปัว มีธรรมเนียมตั้งชื่อหมู่บ้านให้สอดคล้องกับชื่อของ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่มากในถิ่นของตน อาทิ บ้านร้องแง (มาจากคำว่า “คนแง”) บ้านเก็ต (มาจาก คำว่า “เค็ดไม้) ส่วนชาวบ้านเฮียได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเฮี้ย” มาจนกระทั่งปัจจุบัน
      ทั้งนี้ บรรพบุรุษของบ้านเฮีย เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากสิบสองปันนาทาง ตอนใต้ของประเทศจีน รวมทั้งจากหัวเมืองลื้ออื่นๆ หลายเมืองคือ เมืองเชียงรุ่ง เมืองเลน (เมิงลิน) เมืองยอง เมืองเงินและเมืองพวน โดยมีหลักฐานที่ค้นพบ ซึ่งแสดงถึงร่วงรอย ของพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีหลวงเทวดาเมืองเลนที่เรียกว่า “พิธีจึงบ้าน” ที่ปัจจุบันพิธีกรรมนี้ ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
      "บ้านเฮี้ย” อยู่ในพื้นที่ปกครองของตำบลศิลาแลง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ โดย มีนายแสวง นาวงศ์ เป็นกำนันคนแรกต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ประชากรเพิ่มจำนวนขึ้น บ้านเฮี้ยจึงถูกแยกออกเป็น “บ้านหัวดอย” อีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยทั้งสองหมู่บ้านยังคงมี(วัดเฮี้ย) เป็นศูนย์รวมจิตใจ มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาเกือบ ๓๐๐ ปี เสนาสนะต่าง ๆ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ และสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งหลายครา จนถึงปัจจุบัน นี้

อ้างอิง ป้ายติดข้างประตูวัด



33.วัดดอนแก้ว

วัดดอนแก้ว ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดดอนแก้ว

ประวัติวัดดอนแก้ว

      ที่ตั้งวัดดอนแก้ว เลขที่ 4 หมู่ที่ 4 บ้านดอนแก้ว ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน ประวัติวัดดอนแก้ววัดดอนแก้ว วัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีพระพุทธรูปพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นเนื้อสัมฤทธิ์ หน้าตัก 6 นิ้ว ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2458 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2497

อ้างอิง tourwatthai



34.วัดดอนมูล

วัดดอนมูล ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดดอนมูล

ประวัติวัดดอนมูล

      วัดดอนมูล ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ที่บ้านดอนมูล( เดิม ) หมู่ที่ ๕ ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว แต่ปัจจุบันเป็นบ้านดอนสุขสันต์ สังกัดนิกาย มหานิกาย วัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๑๙ ตารางวา มีอานาเขตทางทิศใต้ประมาณ ๓๐ วา ทิศตะวันออกจรดกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกประมาณ ๑๘ วา ติดกับอาคารเสนาอาสนะ ประกอบด้วยพระอุโบสถ และกุฏิสงฆ์ ปูชนีย์วัตถุ มีพระพุทธรูปโบราณหลายองค์ เป็นต้น มีการก่อสร้างเมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๒       และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ณ วันที่ ๒๕ เดือนสิงหาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร และในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ได้มีการเปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม การบริหารการปกครองมีเจ้าอาวาสสืบทอดมาปัจจุบัน มีพระใบฎีกาคงพรรณ วรปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส

อ้างอิง templethailand



35.วัดนาคำ

วัดนาคำ ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดนาคำ

ประวัติวัดนาคำ

      ที่ตั้งวัดนาคำ เลขที่ 1 ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน ประวัติวัดนาคำวัดนาคำ เป็นวัดเก่าแก่อายุ 100 กว่าปี ที่สร้างตามแบบล้านนามีความเงียบสงบ สวยงาม มีวิหาร และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2496 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

อ้างอิง tourwatthai



36.วัดบุญยืน

วัดบุญยืน ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดบุญยืน

ประวัติวัดบุญยืน

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



37.วัดป่าตอง

วัดป่าตอง ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดป่าตอง

ประวัติวัดป่าตอง

      วัดป่าตอง ตั้งอยู่ เลขที่ 16 หมู่ที่ 8 บ้านป่าตองดอนทรายทอง ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 63 ตารางวาอาณาเขตทิศเหนือ 44 วา 2 ศอก จรดถนน ทิศใต้ 44 วา จรดลำเหมือง ทิศตะวันออก 30 วา จรดที่ดินเอกชน ทิศตะวันตก 26 วา 2 ศอก จรดทุ่งนาอาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง หอกลอง ปูชนียวัตถุ       มี พระเพชร เป็นพระพุทธรูปทองสำริด และพระประธานในวิหารเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นวัดป่าตอง สร้างเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2440 โดย ขุนเกษมศิลาเพ็ชร์ และชาวบ้านย้ายจากวัดเดิมซึ่งอยู่ติดลำน้ำย่างและทุ่งนา ซึ่งอยู่ห่างจากวัดปัจจุบัน ประมาณ 500 เมตร ไปทางทิศใต้สาเหตุที่ย้ายเพราะน้ำกัดเซาะตลิ่งพัง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2501 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 13 เมตร ยาว 29 เมตร

อ้างอิง lovethailand



38.วัดดอนไชย

วัดดอนไชย ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดดอนไชย

ประวัติวัดดอนไชย

      วัดดอนไชย (ศิลาเพชร) เลขที่ 3 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2434 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2520
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



39.วัดป่าเหมือด

วัดป่าเหมือด ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดป่าเหมือด

ประวัติวัดป่าเหมือด

      วัดนี้เป็นวัดโบราณเก่าแก่ สร้างขึ้นมาเมื่อไร ใครเป็นผู้สร้างก็ไม่ปรากฏ เพราะวัดนี้เดิมตั้งอยู่บนฝั่งน้ำห้วยหาญและฝั่งแม่น้ำกูนที่ไหลมาต่อกันชาวบ้าน เรียกว่า "วัดหัวฝาย" ต่อมาได้ถูกน้ำเซาะฝั่งชาวบ้านจึงพากันย้ายวัดนี้ไปตั้งเป็น อารามชั่วคราวไว้ที่บ้านหัวน้ำ ใกล้กับฝั่งน้ำกันน้ำก็มาเซาะฝั่งอีก ชาวบ้านก็จึง ย้ายอารามนี้ไปตั้งเป็นชั่วคราวที่มาคอยติดกับบ้านหัวน้ำ ที่ตั้งอารามแห่งนี้ไม่เหมาะ สมกับการตั้งวัด ปี พ.ศ.๒๓๘๒       มีครูบาจิณา สิลสุทโธ นามสกุล จันพฤกษ์ พร้อมกับนายเจ้าหนานพรม ชราพก ได้นำราษฎรทำการถางป่าไม้เหมือด เพื่อทำ การสร้างวัด เพราะสถานที่นี้เป็นที่ราบรื่น อยู่ห่างจากบ้านพอสมควร จึงตั้งชื่อ วัดนี้ว่า "วัดป่าเหมือง" มาจนถึงปัจจุบัน สัญลักษณ์ที่โตมาจากวัดหัวฝายก็คือ พระพุทธรูปไม้หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๑๔ นิ้ว สร้างมาพ.ศ.ไหนไม่ปรากฏ วัดร้างที่ถูกน้ำเซาะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของวัดป่าเหมือ ระยะทางระหว่างวัดร้าง กับ วัดที่ตั้งปัจจุบันนี้ ประมาณ ๗๐๐ เมตร และ นี้เป็นประวัติความเป็นมาของวัดป่าเหมือดโดยสังเขป

อ้างอิง ที่เขียนไว้ที่วัด ที่เขียนไว้ที่วัด 2



40.วัดศาลา

วัดศาลา ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดศาลา

ประวัติวัดศาลา

      วัดศาลาเดิมชื่อวัดเจียงดาว ตั้งอยู่ทิศตะวันตก ของที่ตั้งวัดในปัจจุบันระยะทางประมาณ 700 เมตร ครูบาจินนะ นายเมือง เขื่อนแก้ว ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยคณะครัทธาบ้านศาลา เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2280 มีเจ้าอาวาสปกครองสืบต่อกันมา ได้รับอนุญาตสร้าง วัดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2400 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 มีเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน       ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2522 พระกองจันทร์ สุนทโร เจ้าอาวาส นายสาย อนุจร ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยคณะศรัทธาบ้านศาลาได้ย้ายวัดจากที่ เดิมมาตั้งในปัจจุบันนี้ ต่อมา พ.ศ.2523 พระของ ริวโนเจ้าอาวาส นายเปลี่ยน บริคุตผู้ใหญ่บ้านได้ทำการรื้อถอนพระวิหารและย้าย พระประธานขึ้นมาประดิษฐานในวิหารหลังใหม่ สร้างกุฏิที่พักสงฆ์ชั่วคราว ต่อมาพ.ศ. 2528 พระจันทร์เป็ง นายบุญตัน บริคุตใหญ่บ้าน คณะศรัทธาบ้านศาลาและพุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญได้ร่วมกันบริจาคทุนสมทบสร้างพระวิหารจนเสร็จ ต่อมาได้ก่อสร้างกำแพงล้อมรอบบริเวณ วัด ต่อมา พ.ศ. 2530 นายมนัส อุ่นเรือน ผู้ใหญ่บ้านนายบ่ายแก้ว ยะแสง ไวยาวัจกร พร้อมคณะศรัทธาบ้างศาลาได้สร้างป้ายชื่อวัด พ.ศ. 2538 พระมหาสุมิตร วชิรพโล พระจตุพล วฑฒนจิตโต ผู้ใหญ่บ้านกรรมการ ไวยาวัจกร พร้อมคณะศรัทธาบ้างศาลาและพุทธศาสนิกชน ผู้ใจบุญได้บริจาคทุนสมทบสร้างกุฏิขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุด เสร็จเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2539 ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

อ้างอิง ที่พระท่านจดบนกระดานในวัด



41.วัดดอนสถาน

วัดดอนสถาน ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดดอนสถาน

ประวัติวัดดอนสถาน

      วัดดอนสถาน เลขที่ 4 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2440ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2471
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



42.วัดนาป่าน

วัดนาป่าน ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดนาป่าน

ประวัติวัดนาป่าน

      วัดนาป่าน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑ บ้านนาป่าน หมู่ที่ ๑ ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๓๖๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช ๒๔๔๕ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๘๙ ตารางวา

อ้างอิง ป้ายด้านในวัด



43.วัดนาฝาง

วัดนาฝาง ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดนาฝาง

ประวัติวัดนาฝาง

      วัดนาฝาง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๖ ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง sangkhatikan



44.วัดป่าเหียง

วัดป่าเหียง ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดป่าเหียง

ประวัติวัดป่าเหียง

      วัดป่าเหียง ตั้งอยู่เลขที่ ๔๒ บ้านป่าเหียง หมู่ที่ ๒ ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๙๕ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น ๑๐ วา จดที่ดินเอกชน ทิศใต้ประมาณ ๑ เส้น ๑๕ ๑๕ วา ๑ ศอก จดลำเหมืองสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๑๖ วา ๒ ศอก จุดร่องน้ำสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๑๖ วา ๒ ศอก จุดทางสาธารณะ อาคาร เสนาสนะประกอบด้วย วิหาร กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปปูนปั้น

      วัดป่าเหียง ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ โดย นายบุญตน ธนะวัง เป็นผู้บริจาคที่ดิน และผู้ขออนุญาตสร้างและตั้งวัด กระทรวงศึกษา ธิการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ พ.ศ. ๒๕๑๑ - ๒๕๑๓ พระบุญส่ง ฐิตปุญโญ พ.ศ. ๒๕๑๕ -๒๕๑๘ พระบุญถึง พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๕ พระบุญน้อม พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๘ พระคำมั่น อาชิโต ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ พระประสาท ขันติโก เป็นเจ้าอาวาส

อ้างอิง ศิลาจารึก



45.วัดส้าน

วัดส้าน ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดส้าน

ประวัติวัดส้าน

      วัดส้าน (สถาน) เลขที่ 2 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2467 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2519
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



46.วัดห้วยล้า

วัดห้วยล้า ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดห้วยล้า

ประวัติวัดห้วยล้า

      วัดห้วยล้า เลขที่ 5 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2464 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2519
กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง lovethailand



47.วัดบ้านทุ่งกลาง

วัดบ้านทุ่งกลาง ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดบ้านทุ่งกลาง

ประวัติวัดบ้านทุ่งกลาง

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



48.วัดน้ำยาว

วัดน้ำยาว ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดน้ำยาว

ประวัติวัดน้ำยาว

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



49.วัดไร่

วัดไร่ ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดไร่

ประวัติวัดไร่

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



50.วัดศรีรัตนาราม

วัดศรีรัตนาราม ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดศรีรัตนาราม

ประวัติวัดศรีรัตนาราม

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



51.วัดพระธาตุศรีคีรีชัย

วัดพระธาตุศรีคีรีชัย ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดพระธาตุศรีคีรีชัย

ประวัติวัดพระธาตุศรีคีรีชัย

      จากเว็บsangkhatikan วัดพระธาตุศรีคีรีชัย เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๙ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน

      เขียนติดที่วัดณ วัดพระธาตุจอมศรีคีรีชัย บ้านปงหนึ่ง หมู่ ๙ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน พระอุโบสถหลังนี้สร้างจากเงินทอดปฐมกฐิน-ผ้าป่าสามัคคี ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์-ลงเสาเอกเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เวลา ๑๒.๑๙ น. และได้เงิน ทอดกฐิน-ผ้าป่าสามัคคีของชาวคณะกรุงเทพมหานคร มาโดยตลอดพร้อมด้วยเงินบริจาค-แรงงานชาวบ้านปงหนึ่งและที่อื่น ๆ เป็นอย่างดี สิ้นเงินก่อสร้าง ๔,๔๔๔,๙๙๙ (สี่ล้านสี่แสนสี่หมื่นสี่พันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน) สร้างสำเร็จบริบูรณ์ดีถวายเป็นสมบัติของพระสงฆ์ ณ วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ เวลา ๑๒.๑๙ น.

อ้างอิง sangkhatikan เขียนติดที่วัด



52.วัดบ้านใหม่ชัยเจริญ

วัดบ้านใหม่ชัยเจริญ ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก . . .

วัดบ้านใหม่ชัยเจริญ

ประวัติวัดบ้านใหม่ชัยเจริญ

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



53.วัดทุ่งรัตนาราม

วัดทุ่งรัตนาราม ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดทุ่งรัตนาราม

ประวัติวัดศรีรัตนาราม

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



54.วัดป่าดอยภูคา

วัดป่าดอยภูคา ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดป่าดอยภูคา

ประวัติวัดป่าดอยภูคา

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



55.วัดดอนน้ำยาว

วัดดอนน้ำยาว ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดดอนน้ำยาว

ประวัติวัดดอนน้ำยาว

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



56.วัดทุ่งฆ้อน

วัดทุ่งฆ้อน ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดทุ่งฆ้อน

ประวัติวัดทุ่งฆ้อน

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



57.วัดบ้านกอก

วัดบ้านกอก ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดบ้านกอก

ประวัติวัดบ้านกอก

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



58.วัดกอกร้องเย็น

วัดกอกร้องเย็น ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดกอกร้องเย็น

ประวัติวัดกอกร้องเย็น

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .



59.วัดกอกล่องน้ำเย็น

วัดกอกล่องน้ำเย็น ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

วัดกอกล่องน้ำเย็น

ประวัติวัดกอกล่องน้ำเย็น

      กำลังสืบค้นข้อมูล . . . หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสามารถส่งมาได้ที่คลิ๊ก

อ้างอิง . . .